วันศุกร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2553

"สินสอด"ค่าตอบแทนบิดามารดา

สินสอด
หมายถึง ทรัพย์สินซึ่งฝ่ายชายให้แก่บิดามารดาฝ่ายหญิงเพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส (ม.1437)โดยสินสอดนั้นจะส่งมอบเมื่อใดก็ หากว่าเป็นทรัพย์สินที่ให้เพื่อ ขอขมาบิดามารดาของฝ่ายหญิงที่ตนล่วงเกินลูกสาวของเขา ทรัพย์สินนั้นไม่ใช่สินสอด แม้ต่อมาภายหลังไม่มีการสมรสชายจะเรียกคืนไม่ได้ เพราะสิ่งของที่ให้กันนั้นกฎหมายไม่ถือว่าเป็นสินสอด
ในกรณีดังต่อไปนี้ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้ มีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
1. ถ้าไม่มีการสมรสเกิดขึ้นโดยเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง เหตุที่ว่าทำให้ชายไม่สมควร หรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น หรือ
2. ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ
ข้อสังเกตเกี่ยวกับสินสอด
คำพิพากษาฎีกาที่ 2237/2518
ให้สินสอดโดยทำสัญญากู้ให้ แม้เงินที่ลงไว้ในสัญญากู้จะไม่ใช่สินสอดตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1436 (มาตรา 1437 ปัจจุบัน) เพราะเป็นการแต่งงานตาม
ประเพณีโดยคู่กรณีไม่ถือเอาการจดทะเบียนสมรสเป็นสำคัญก็ตาม แต่เมื่อจำเลยตกลงจะให้เงินตอบแทนแก่โจทก์ในการที่บุตรสาวของโจทก์แต่งงานอยู่กินกับบุตรชายของจำเลย โดยทำสัญญากู้ให้ไว้ดังกล่าวเมื่อได้มีการแต่งงานอยู่กินเป็นสามีภรรยากันแล้ว จำเลยจึงต้องชำระเงินตามสัญญากู้ให้โจทก์
คำพิพากษาฎีกาที่ 502/2519
สินสอดที่ฝ่ายชายนำมามอบให้แก่ฝ่ายหญิงในการแต่งงานตามประเพณีนั้น หากชายและหญิงไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันโดยไม่ใช่ความผิดของฝ่ายหญิง ฝ่ายชายไม่มีสิทธิฟ้องเรียกคืน
คำพิพากษาฎีกาที่ 767/2519
ผู้ที่มิใช่บิดามารดา และไม่เป็นผู้ปกครองของหญิงไม่มีอำนาจฟ้องร้องเรียกเงินสินสอดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1436 วรรคท้ายได้ ส่วนพี่ชายร่วมบิดามารดาเดียวกับหญิงที่เป็นผู้ปกครองตามความเป็นจริง ซึ่งอ้างว่ามีอำนาจฟ้องก็เป็นข้ออ้างที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 1555 (มาตรา 1585 ปัจจุบัน)

0 ความคิดเห็น: